![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjjDPBpvKI_Xf95bXc8uEUXNW9KX4lT1IJujvk1vCbHsrls4MWzx0CHuIYawJl1eTvaT8lEIEhdC8xbhCBPNFXEZOu2L7h9byZGT7yTP31ntAULSctjfBCObPGZzeaKjQ-NEzK6bE6Kufd_/s200/GodfreyKneller-IsaacNewton-1689.jpg)
![]() |
กฎข้อแรกและข้อที่สองของนิวตัน เขียนเป็นภาษาละติน |
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 1 ของนิวตัน (Newton’s first law of motion) กล่าวว่า“วัตถุจะรักษาสภาวะอยู่นิ่งหรือสภาวะเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง นอกจากมีแรงลัพธ์ซึ่งมีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำ”คือ ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็ยังคงอยู่นิ่งเหมือนเดิม และถ้าวัตถุเกิดการเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ความเร็วคงที่ หรือความเร่งจะเป็นศูนย์
2.กฏข้อที่ 2
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 2 ของนิวตัน (Newton’s second law of motion) บางทีเรียกว่า กฎความเร่ง กล่าวว่า“ความเร่งของอนุภาคเป็นปฏิภาคโดยตรงกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่ออนุภาค โดยมีทิศทางเดียวกันและเป็นปฏิภาคผกผันกับมวลของอนุภาค”ดังนั้น อัตราส่วนของแรงกับความเร่งจะเป็นค่าคงที่
3.กฏข้อที่ 3
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 3 ของนิวตัน (Newton’s third law of motion) กล่าวว่า“ทุกแรงกิริยา (action) ย่อมมีแรงปฏิกิริยา (reaction) ซึ่งมีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศตรงข้ามกันเสมอ”กฎข้อนี้เรียกว่า กฎของกิริยาและปฏิกิริยา (Law of action and reaction) แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา หมายถึง แรงกระทำและแรงกระทำตอบ โดยเป็นแรงซึ่งกระทำต่อมวลที่ต่างกันและเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นคู่เสมอ โดยที่มวลอาจไม่สัมผัสกันและถือว่าแรงหนึ่งแรงใดเป็นแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาก็ได้